ทันตกรรมรากเทียม (Dental Implant) คือวิธีการปลูกรากเทียมหรือรากฟันเทียมทดแทนรากฟันจริง เพื่อให้สามารถมีฟันจริงได้เหมือนเดิม เพื่อเป็นฐานให้แก่ฟันที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ โดยจะฝังวัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟันลงบนกระดูกขากรรไกร เพื่อช่วยให้ฟันปลอมภายในช่องปากทั้งชนิดถอดได้และ ชนิดติดแน่นยึดเกาะได้ดี โดยอาจใช้รากเทียม เพื่อการใส่ฟันปลอม 1 ซี่หรือมากกว่านั้น ในบางกรณีการใส่ฟันปลอมทั้งปากก็อาจใช้ รากเทียมเพียงตัวเดียวได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ใช้ในการยึดเกาะของฟันปลอมแต่ละซี่
การรักษาด้วยรากฟันเทียม เป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับผู้สูญเสียฟัน ที่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ ซึ่งการใช้ฟันปลอมแบบถอดได้ จะเกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน การพกพอ และความสวยงาม รวมถึงผลข้างเคียง จากการที่กระดูกบริเวณที่สูญเสียฟันไปนั้นยุบตัวเนื่องจากกระดูกละลาย เนื่องจากไม่มีฟันให้กระดูกบริเวณนั้นยึดเกาะไว้
ถ้าฟันของคุณหายไป 1 ซี่ หรือมากกว่านั้น เราจะหาทางออกที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูสภาพช่องปากของคุณ ด้วยเทคนิคการทำ ที่เหมากับปัญหาฟันของคุณโดยเฉพาะ เพื่อให้คุณกลับมามีรอยยิ้มที่มั่นใจได้อีกครั้ง
สามารถทำได้ในกรณีที่คนไข้สูญเสียฟันธรรมชาติไป 1 ซี่ โดยที่ไม่ต้องกรอฟันซี่ข้างเคียงเพื่อใส่สะพานฟัน จะช่วยป้องกัน ปัญหาการสูญเสียฟันข้างเคียง ที่เกิดจากฟันล้มได้
ในกรณีที่คนไข้สูญเสียฟันธรรมชาติไปมากกว่า 1 ซี่ สามารถรักษาได้ด้วยการทำสะพานฟันบนรากเทียม สะพานฟัน คือฟันเทียมบางส่วนติดแน่นที่มีส่วนของครอบฟันยึดติดกับฟันธรรมชาติทั้งสองข้าง และมีส่วนของฟันแขวนอยู่ตรงกลาง
การดูแลรักษานั้น สามรถทำได้เหมือนฟันธรรมชาติที่เรามี แม้ว่ารากเทียมจะไม่มีปัญหาเรื่องฟันผุ เพราะรากเทียมนั้นทำมาจากโลหะ แต่เราก็ยังต้องระวังและดูแลรักษาให้เหมือนกับฟันธรรมชาติ เพราะปัญหาที่จะเกิดขึ้น ก็คือโรคเหงือกอักเสบ เพราะถ้าดูแลไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบขึ้นได้ และถ้าปล่อยไว้นาน ก็อาจก่อให้เกิดโรคเหงือกอักเสบชนิดเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลให้กระดูกที่รองรับรากฟันละลาย ทำให้กระดูกที่รองรับรากเทียมมีไม่มากพอ และผลสุดท้ายก็จะทำให้รากเทียมซี่นั้นๆ และทำให้เกิดการสูญเสียฟันได้ในที่สุด
ดังนั้นการดูแลรักษาช่องปากที่ถูกวิธี โดยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี และการใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วยอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ทั้งฟันธรรมชาติ และฟันเทียม สะอาด และปลอดภัยจากเชื้อโรคที่อาจก่อให้เกิดการสูญเสียฟันได้
39,000 บาท
50,000 – 55,000 บาท
60,000 บาท
70,000 – 75,000 บาท
60,000 – 65,000 บาท
75,000 – 80,000 บาท
80,000 – 85,000 บาท