ศูนย์ทันตกรรมทั่วไปรักษารากฟัน
ดูแลรากฟัน ดูแลรากฐานของรอยยิ้มที่แข็งแรง
การรักษารากฟัน คือ “โพรงประสาทฟัน” เป็นการรักษาประสาทฟันที่อักเสบ ทำให้อาการเจ็บปวดหายไป และยังสามารถเก็บรักษาฟันแท้ของคุณให้คงอยู่ต่อไป รักษารากฟัน
สาเหตุที่ต้องรักษารากฟัน
เนื่องจากการปล่อยให้ฟันผุเป็นเวลานานและไม่ได้รับการรักษา จนอักเสบลึกเข้าไปใกล้โพรงประสาทฟัน, ฟันแตก ฟันหัก หรือฟันมีรอยร้าว จากการบดเคี้ยวอาหาร หรือจากอุบัติเหตุ ทำให้เชื้อแบคทีเรียในน้ำลายเข้าไปในโพรงประสาทฟันและทำอันตรายต่อประสาทฟัน รวมทั้งโรคเหงือกอักเสบเรื้อรัง และการที่ฟันถูกกระแทกแรงๆ ก็ทำให้ส่วนปลายประสาทฟันตายได้ ทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนองที่รากฟันตามมา และเริ่มมีอาการปวดฟัน โดยอาจจะปวดแบบเป็นๆ หายๆ ปวดเป็นระยะ หรือปวดอย่างรุนแรง ร่วมกับมีอาการเหงือกบวม รักษารากฟัน
ขั้นตอนการรักษารากฟัน
- กรอเปิดโพรงประสาท ทันตแพทย์ทำการฉีดยาชาเพื่อป้องกันและลดอาการปวด หลังจากนั้นจึงทำการเปิดโพรงประสาทฟันโดยการใช้เครื่องมือเจาะ เพื่อทำความสะอาดโพรงประสาทฟัน
- วัดความยาวและขยายโพรงประสาทฟัน เมื่อกรอเปิดโพรงประสาทฟันได้แล้ว ทันตแพทย์จะวัดความยาวและขยายโพรงประสาทฟันให้กว้างขึ้น เพื่อให้เครื่องมือเข้าไปทำความสะอาดได้อย่างสะดวก
- ทำความสะอาดโพรงประสาทฟัน จากนั้นทำความสะอาดด้วยการนำเครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายเข็ม สอดเข้าไปในโพรงประสาทฟันเพื่อนำเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก แล้วล้างทำความสะอาดกำจัดเชื้อโรค และใส่ยาฆ่าเชื้อไว้ในรากฟัน จากนั้นอุดปิดโพรงประสาทฟันชั่วคราว หากมีปัญหาที่ฟันหน้าจะใช้เวลาไม่นานเนื่องจากมีรากฟันเพียงรากเดียว แต่สำหรับฟันหลังต้องใช้เวลาในการทำความสะอาดนานเพราะมีจำนวนรากเยอะกว่า ดังนั้น ในขั้นตอนนี้ทันตแพทย์อาจจะต้องนัดมาทำหลายครั้ง จนกว่าจะทำความสะอาดได้ครบหมดทุกราก รักษารากฟัน
- อุดฟัน หลังจากทำความสะอาดภายในโพรงประสาทฟันจนสะอาดและปราศจากเชื้อแล้ว ทันตแพทย์จะทำการอุดภายในรากฟันให้แน่นและเต็มด้วยวัสดุอุดรากฟัน เพื่อไม่ให้มีช่องว่างสำหรับเชื้อโรค
- บูรณะฟันและตกแต่งฟัน ให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ดีเหมือนเดิม รักษารากฟัน
การรักษารากฟัน ปกติแล้วใช้เวลาในการรักษา 2-3 ครั้ง ในบางกรณีสามารถรักษาให้เสร็จภายในครั้งเดียวได้ หรืออาจต้องมาทำการรักษาหลายครั้งขึ้นอยู่กับสภาพฟัน
ศูนย์ทันตกรรมทั่วไปถอนฟัน
ถอนฟันกับมือโปร ยิ้มได้แบบไม่ต้องถอนหายใจ
การถอนฟัน เหตุผลสำคัญที่ทันตแพทย์จำเป็นต้องทำการถอนฟัน คือ
- มีอาการฟันผุมากจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน จนไม่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีอื่นๆได้
- มีปัญหาโรคเหงือกอย่างรุนแรง
- ฟันแตกหรือหักในลักษณะที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้
- มีปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งและการขึ้นของฟัน ได้แก่ฟันคุด
- เพื่อเตรียมก่อนเข้ารับการจัดฟัน
ข้อควรปฎิบัติหลังการถอนฟัน
- ให้กัดผ้าก๊อซไว้นิ่งๆ ประมาณ 30นาที-1 ชั่วโมง เ มื่อเลือดหยุดไหลแล้ว ควรเปลี่ยนผ้าชิ้นใหม่และกัดอุดแผลไว้สักพัก เพื่อให้แน่ใจว่าเลือดหยุดจริงๆ
- ห้ามบ้วนเลือดและน้ำลายออกมาเพราะแรงบ้วนจะชักนำให้เลือดไหลออกมามากขึ้น ให้ใช้วิธีกลืนเลือดหรือน้ำลายแทน
- ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปากทุกชนิดเพราะจะทำให้ระคายเคืองแผลก็จะหายช้า ให้ใช้วิธีการอมน้ำเกลือแทน สัดส่วน เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว แล้วบ้วนออกเบาๆ
- รับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด ในช่วง2-3วันแรกหลังการถอนฟัน
- หลังการถอนฟัน 12 ชั่วโมง สามารถแปรงฟันได้ตามปกติโดยแปรงเบาๆ ระวังอย่าให้แปรงสีฟันโดนแผล และบ้วนน้ำเบาๆ อย่าบ้วนหรือกลั้วปากแรงเกินไป
- หากยังมีอาการปวดแผลภายหลังการถอนฟันให้รับประทานยาแก้ปวด และรับประทานเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ศูนย์ทันตกรรมทั่วไปอุดฟัน
อุดฟันกับมือโปร ยิ้มได้แบบสบายใจ
การอุดฟัน คือวิธีการรักษาอาการฟันผุ ให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งทำได้โดยการที่กรอเอาเนื้อฟันส่วนที่ผุออกและทำความสะอาด จากนั้นจึงเติมวัสดุอุดฟันลงไป วัสดุที่ใช้ในการอุดฟันได้แก่ ทอง พอร์เซเลน คอมโพสิตเรซิน (การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน) และอมัลกัม (วัสดุอุดฟันทำจากโลหะปรอท เงิน ทองแดง และสังกะสี) หรือถ้าในกรณีที่ฟันผุมากอาจจะต้องอุดฟันด้วยวัสดุที่เป็นโลหะ
ศูนย์ทันตกรรมทั่วไปฟันปลอม
ทดแทนฟันแท้ด้วยฟันปลอมคุณภาพ เพราะรอยยิ้มดีๆไม่มีช่องว่าง
ฟันปลอม คือ ฟันเทียมที่มาทดแทนฟันของเราที่สูญเสียไป เพื่อให้ใช้งานได้ใกล้เคียงฟันแท้
ฟันปลอม มี 2 ชนิด คือฟันปลอมถอดได้ และฟันปลอมติดแน่น
1.ฟันปลอมถอดได้
ฟันปลอมแบบถอดได้นั้น เหมาะกับการใส่ฟันหลาย ๆ ซี่ หรือใส่ทันทีที่ถอนฟัน โดยการใช้โครงเป็นตัวยึดและตัวฟันปลอมวางไว้บนเหงือก
ฟันปลอมชุดนี้มาหลายแบบ มีทั้ง
- แบบชั่วคราว Temporary Plate ( TP) ที่เห็นเป็นพลาสติกสีชมพูแทนเหงือกและตัวฟันเป็นอครีลิคสีเดียวกับฟัน อายุการใช้งาน อยู่ที่ 3-6 เดือนก็อาจจะต้องมาปรับให้แน่นขึ้นหรือทำชุดใหม่
ข้อดีของฟันปลอมชุดนี้คือ
* มีราคาถูก
* ไม่มีการทำลายหรือกรอฟันที่เหลืออยู่แต่อย่างได
* ถอดมาทำความสะอาดได้ง่าย
ข้อเสีย
* คือคนไข้อาจรำคาญถอดเข้าถอดออก ละอาจอึดอัดเพราะมีขนาดใหญ่อยู่ในช่องปากและแรกๆคนไข้อาจไม่ชิน
* ต้องมาพบหมอบ่อยๆเพื่อปรับจนกว่าจะใช้งานได้ไม่กดเหงือกเจ็บ
* มีโอกาสฟันโยกเป็นโรคเหงือกและฟันผุหากดูแลรักษาไม่ดี
- แบบถาวร Removable Partial Denture เป็นฟันปลอมแบบถอดได้เหมือนกันแต่วัสดุและประสิทธิภาพ รวมทั้งอายุการใช้งาน นานกว่า มีราคาสูงกว่า ขั้นตอนการทำ ยุ่งยาก ต้องทำโดยทันตแพทย์เฉพาะทางด้านใส่ฟัน ราคาขึ้นอยู่กับวัสดุ
- ฟันปลอมทั้งปาก Full Denture เช่นกันค่ะ ราคาขึ้นอยู่กับวัสดุ ขั้นตอนยุ่งยากต้องมาพบหมอบ่อยๆ และทำโดยทันตแพทย์เฉพาะทาง
2.ฟันปลอมชนิดติดแน่น
มีหลักการคือจำเป็นต้องกรอฟันบางส่วนออกเพื่อทำครอบฟันทับฟันซี่ที่มีปัญหา หรือ ที่เรียกว่า ครอบฟัน (Crown) แต่ถ้าถอนฟันบางซี่ไปแล้วมีช่องว่างฟันเกิดขึ้น จะต้องกรอฟันที่อยู่หัวและท้ายของช่องว่างเพื่อเป็นหลักยึดสำหรับฟันที่จะทดแทนในช่องว่าง เรียกว่า การทำ สะพานฟัน (Bridge)
2.1 ครอบฟัน ก็คือ ฟันปลอมเฉพาะซี่ที่สวมทับลงบนตัวฟันที่ได้รับการกรอแต่งโดยรอบเพื่อให้เป็นที่อยู่ของครอบฟัน
คนไข้ที่แนะนำทำครอบฟัน
- ฟันมีรอยร้าว
- ฟันที่มีวัสดุอุดฟันขนาดใหญ่
- มีการแตกหัก หรือบิ่นจากการใช้งาน
- ฟันที่ได้รับการรักษารากฟัน
- ฟันที่มีรูปร่างหรือเนื้อฟันผิดปกติ
2.2 สะพานฟันติดแน่น หรือ Bridge
เป็นกาครอบฟันเช่นกัน ในกรณีคนไข้มีการสูญเสียฟันซี่ไดซี่หนึ่งไป สามารถครอบฟันได้ โดยการกรอฟันหัวและท้ายเป็นสะพานเพื่อยึดกับฟันที่หายไป เช่น มีฟันหาย ไป 1 ซี่ จะต้องกรอฟัน2 ซี่เพื่อยุดฟันซี่ตรงกลาง กลายเป็นการทำสะพานฟัน ติดแน่ 3 ซี่ ค่ะ การรักษาและพบแพทย์ ยุ่งยากกว่าการทำครอบ1 ซี่
5-7 วันเช่นกัน